ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน
(Prof.Dr.Srisakdi Charmonman)
ผู้ประสบความสำเร็จอย่างเด่นชัดในฐานะ
“บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย (Father of Thai E-learning)”

http://www.srisakdi.com
http://www.charm.au.edu/mainright_th.htm
ได้รับขนานนามว่า "บิดาอินเทอร์เน็ตไทย"
โดย Bangkok Post พ.ศ. 2541 นิตยสาร GM นิตยสาร Smart Job นิตยสาร Image นิตยสาร Yuppie และ Nation
ข้อมูลจาก : http://www.elearning.au.edu/news/news_18.html
รางวัลผู้ประสบความสำเร็จแห่งคริสตวรรษที่ 21 และรางวัลผู้ประกอบคุณงามความดี
เป็น บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย (Father of Thai E-learning)
เคมบริดจ์ อังกฤษ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ผู้อำนวยการ ผู้บริหารและนักวิจัยศูนย์ชีวประวัตินานาชาติ (International Biographical Centre) ที่แคมบริดจ์มีมติเอกฉันท์มอบรางวัลเกียรติยศ (Diploma of Honour) ให้ ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ผู้ประสบความสำเร็จอย่างเด่นชัดในฐานะ “ บิดาอีเลิร์นนิ่งไทย (Father of Thai E-learning)”
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2549 ศูนย์ชีวประวัตินานาชาติ ที่เคมบริดจ์ ได้ประกาศมอบรางวัลผู้ประกอบคุณงามความดี (Meritorious Decoration) ว่า ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน มีผลงานยอดเยี่ยมในฐานะ "บิดาแห่งอีเลิร์นนิ่งไทย (The Father of Thai E-Learning) "
- พ.ศ. 2507 คนไทยคนแรกที่จบปริญญาเอกด้านไอที (จบที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งจอร์เจีย, สหรัฐอเมริกา)
- พ.ศ. 2513 คนไทยคนแรกที่ใช้อินเทอร์เน็ต ตั้งแต่อินเทอร์เน็ตแรกเกิดในอเมริกา
- พ.ศ. 2516 คนไทยคนแรกที่ทำอีเลิร์นนิ่ง ในฐานะศาสตราจารย์เต็มขั้น (Full Professor) ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก
- พ.ศ. 2511-2516 คนไทยคนแรกที่เป็นผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัยคอมพิวเตอร์ (Director of Graduate Studies in Computer Science) ในอเมริกาที่หมาวิทยาลัยมิชซูรี่
- พ.ศ. 2524 บุรุษคอมพิวเตอร์แห่งปีอาเซียน (Asian Computer Man of the Year 1981) โดยวารสารคอมพิวเตอร์เอเชียในฮ่องกง
- พ.ศ. 2527 เสนอให้ทำธนาคารข้อสอบ (Exam Bank) ในการประชุมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2531 คนไทยคนแรกที่เป็น ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 นั้นเทียบเท่าปลัดกระทรวงด้านพลเรือน จอมพลด้านทหาร และสูงกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด โดนเป็นศาสตราจารย์ ระดับ 11 อยู่ 10 ปี
- พ.ศ. 2541 ได้รับขนานนามเป็น “บิดาอินเทอร์เน็ตไทย” โดยบางกอกโพสต์ และอ้างถึงโดย ยัปปี จีเอ็ม สมาร์ทจอบ และเนชั่น
- พ.ศ. 2545 เป็นผู้ก่อตั้ง เป็นประธานกรรมการและเป็นประธานผู้บริหารหรือ ซีอีโอ (Chief Executive Officer) วิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- พ.ศ. 2545 เป็นผู้ยกร่างกฎหมายอีเลิร์นนิ่งฉบับแรกของไทย ซึ่งต่อมาได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ ตุลาคม 2548
- พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สร้างอาคาร “ศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยีสารสนเทศ” ให้เป็นเกียรติ มี 12 ชั้น 12,000 ตารางเมตร มีคอมพิวเตอร์กว่า 1,000 เครื่อง มีห้องวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ มีศูนย์ผลิตสื่อการสอนทางวิทยุและโทรทัศน์ มีศูนย์ผลิตสื่อการสอนแบบสิ่งพิมพ์ ฯลฯ
- พ.ศ. 2549 เป็นผู้อำนวยการหลักสูตรระดับปริญญาแบบอีเลิร์นนิ่ง หลักสูตรแรกของไทยคือ มหาบัณฑิตการจัดการ (Master of Science in Management) ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ข้อมูลจาก : http://www.elearning.au.edu/media/newspaper_01/media_01.html
ข้อมูลจาก : http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=R5620661&issue=2066
"ม.อัสสัมชัญ" ผนึก "สามารถเทลคอม" ขานรับนโยบายนายทักษิณ หลังบินไปดูงานหัวเหว่ย ที่เซิ่นเจิ้น ประเทศจีน เตรียมยกเครื่องระบบการเรียนการสอนของไทยก้าวสู่ไฮเทค ล่าสุดเตรียมเปิดหลักสูตรอี-เลิรน์นิ่ง ภายใต้โครงการ "AU PLUS"ระดับปริญญาโท สาขาบริหารจัดการแบบ ดีเดย์มกราคม.ปี 49 "ศรีศักดิ์" การันตีเรียนจบได้ใบรับรองจาก กระทรวงศึกษาธิการ สามารถสมัครงานและเรียนต่อได้ ด้าน "ธวัชชัย" ชี้เป็นธุรกิจดาวรุ่งดวงใหม่ที่สร้างรายได้
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการ และ ประธานผู้บริหารวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยได้เตรียมเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือ อี-เลิรน์นิ่ง ในระดับปริญญาโทสาขาวิชาด้านการบริหารจัดการแบบเต็มหลักสูตร เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาในระดับดังกล่าวที่มีความสนใจศึกษาเล่าเรียนแต่ไม่มีเวลาเดินทางมาเรียนด้วยตนเองที่สถาบัน ภายใต้โครงการ "เอยู พลัส" (AU PLUS) โดยจะเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเรียนได้ตั้งแต่เดือนมกราคมปีหน้า และเริ่มเปิดเรียนประมาณต้นเดือนพฤษภาคม
โดยหลักสูตรดังกล่าวจะใช้เวลาในการเรียนทั้งหมดประมาณ 1 ปี ซึ่งผู้เรียนจะต้องส่งงานให้กับอาจารย์ผู้สอนเกินกว่า 20% ขึ้นไปของการเรียน และ ต้องมีการติดต่ออาจารย์ผู้สอนรวมถึงเพื่อนร่วมชั้นเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อแสดงถึงความสนใจในการศึกษา และการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นเหมือนดังเช่นการศึกษาเล่าเรียนตามหลักสูตรปกติในมหาวิทยาลัย โดยอาจารย์ผู้สอนจะเข้ามาตอบปัญหาของนักศึกษาที่ไม่เข้าใจภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่ส่งคำถามเข้ามา
นอกจากนี้ระหว่างที่ศึกษาเล่าเรียนก็จะมีการสอบไล่วัดคะแนนความรู้ ซึ่งนักศึกษาจะต้องเดินทางมาสอบด้วยตนเองที่สนามสอบที่ทางมหาวิทยาลัยจัดเตรียมไว้ให้ โดยเมื่อจบหลักสูตรก็จะได้รับใบรับรองการศึกษาจากทางกระทรวงศึกษาธิการ เหมือนดังเช่นการจบหลักสูตรตามปกติ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อในระดับถัดไป
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครเรียนได้ผ่านทาง www.auplus.au.edu โดยจะเสียค่าลงทะเบียนเรียนรวมเป็นเงินทั้งหมด 170,000 บาทตลอดหลักสูตร ซี่งผู้เรียนจะได้รับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของบริษัท สามารถคอร์เปอเรชั่น ที่มีความเร็ว 1 เมกกะบิตไว้ใช้สำหรับเล่าเรียนและใช้บริการด้านอื่นๆได้ตามต้องการตลอดระยะเวลาเล่าเรียน โดยผู้ที่มีคุณสมบัติสามารถเรียนหลักสูตรดังกล่าวได้นั้นจะต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่รัฐบาลไทยให้การรับรอง
ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จากการที่ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนหลักสูตรดังกล่าวนั้น ได้การเตรียมการด้วยการสร้างอาคารศรีศักดิ์ จามรมานสถานเทคโนโลยีสารสนเทศ สูง 11 ชั้นมีเนื้อที่ประมาณ 12,000 ตารางเมตรที่วิทยาเขตบางนา เพื่อเป็นวิทยาลัยที่รองรับการศึกษาทางไกลดังกล่าว และใช้เป็นสนามในการสอบไล่รวมถึงเป็นสถานที่พบปะระหว่างอาจารย์กับผู้เรียนได้อีกด้วย โดยใช้งบประมาณในการลงทุนไปกว่า 600 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าภายในระยะเวลา 5 ปีจะมีผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนกว่า 1 แสนคน
ทั้งนี้หลังจากที่เปิดหลักสูตรด้านการบริหารจัดการเรียบร้อยแล้ว ก็จะเปิดหลักสูตรเพิ่มเติมอีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรปริญญาโทด้านคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิทยาการศึกษาทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้สามารถตอบรับความต้องการของผู้เรียนได้ครอบคลุมทุกความสนใจมากยิ่งขึ้น ขณะที่แนวโน้มการเติบโตด้านการการศึกษาดังกล่าว เชื่อว่าหลังจากที่มีการเปิดสอนออกไป ทุกสถาบันจะหันมาให้ความสำคัญกับการสอนทางออนไลน์ และเกิดการแข่งขันที่รุนแรงเพื่อแย่งชิงนักศึกษา โดยประโยชน์ก็จะเป็นของผู้บริโภคซึ่งจะมีทางเลือกในการศึกษาเล่าเรียนโดยไม่ต้องไปมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น
ด้านนายธวัชชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เป็นเพราะทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมทั้งสองด้านจึงได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน โดยบมจ.สามารถ เทลคอม ซึ่งเป็นบริษัทลูกจะทำหน้าที่ในการวางระบบ ขณะที่ทางม. เอแบค มีความพร้อมทางด้านวิชาการ คาดว่าในเบื้องต้นจะสามารถทำรายได้ประมาณ 10 ล้านบาท
"ในอนาคตการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์จะได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีคนใช้บริการเป็นลำดับ และ เชื่อว่าภายในไม่อีกกี่ปีระบบการเรียนการสอนแบบใหม่จะได้ตอบรับเพิ่มมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ระบบการเรียนการสอนแบบอี-เลิร์นนิ่ง สอดคล้องกับนโยบายของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมกับได้เปิดเผยในรายการ "นายกทักษิณคุยกับประชาชน" เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ตอนหนึ่งว่าหลังจากไปเยี่ยม บริษัท หัวเหว่ย ที่สาธารณประชาธิปไตยประชาชนจีน ที่เมืองเซิ่นเจิ้น ปรากฏว่า หัวเหว่ย ได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในระบบการเรียนการสอน เป็นระบบที่ข้อมูลเสียงและภาพอยู่ด้วยกัน ผ่านกล่องเดียวกันเป็นแนวที่โทรคมนาคมกับโทรทัศน์มารวมเป็นหนึ่ง พอผมดูอย่างนี้แล้วผมบอกว่ากลับมาปฏิรูปการศึกษาจะง่ายขึ้นอีกมาก เพราะว่าถ้าเราจะมานั่งพัฒนาครูรุ่นใหม่ให้เข้าไปสอน ต้องใช้เวลา
"แม่พิมพ์วันนี้ของเรายังอยู่ในแม่พิมพ์ ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนมาก ดังนั้นผมคิดว่าเทคโนโลยีตัวนี้จะช่วยให้การสอนดีขึ้น ฉะนั้นผมคิดว่าเทคโนโลยีตัวนี้จะช่วยให้การสอนดีขึ้น ผมบอกกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ไปแล้วว่า ไปเลือกครูมาทำการเรียนการสอน"
ข้อมูลจาก : http://www.scit.au.edu/why_T.asp
อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยทั้งหลายล้วนลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกันมากมาย อาทิ สร้างอาคารไอทีมูลค่าเป็นร้อยล้านบาท เช่า/ซื้อและพัฒนาซอฟต์แวร์มูลค่ารวมเป็นร้อยล้านบาท จ้างบุคลากรด้านไอทีปีละหลายล้านบาท เป็นต้น สำหรับอาคารด้านไอทีนั้น ขอยกตัวอย่าง “อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยีสารสนเทศ” ที่มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ ภราดา ดร.ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้มีโครงการก่อสร้างอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหลายปีแล้ว เพราะอยากจะให้นักศึกษามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญทุกคนมีศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศ แข่งขันกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้ ความคิดริเริ่มในการก่อสร้างอาคารเทคโนโลยีสารสนเทศมาจากวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของ บราเดอร์ มาร์ติน ซึ่งท่านอยากให้นักศึกษาทุกคนมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ชื่อ “อาคารศรีศักดิ์ จามรมาน สถานเทคโนโลยี สารสนเทศ” ได้มาจากความกรุณาของ บราเดอร์ มาร์ติน ให้ใช้ชื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างคุณงามความดีของ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บราเดอร์ มาร์ติน เคยประกาศในโบสถ์ในวันคริสมาสต์หลายปีมาแล้วว่า พระผู้เป็นเจ้าได้ส่ง ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน มาเกิดเป็น “สหชาติ” กับท่านเพื่อช่วยกันพัฒนามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไป แล้วโดยการสนับสนุนของ บราเดอร์ มาร์ติน และ บราเดอร์ บัญชา ท่านอธิการบดีคนปัจจุบัน อาจารย์ศรีศักดิ์ก็ได้ช่วยพัฒนามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
  1. คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้กันในเอแบค เป็นเครื่องที่ ศ.ศรีศักดิ์ นำขึ้นเครื่องบินมาเองจากสหรัฐอเมริกา ชื่อ เรดิโอแชค ทีอาร์เอส 80 (Radio Shack TRS 80)
  2. หลักสูตรปริญญาตรีด้านไอที หลักสูตรแรกของเอแบค ศ. ศรีศักดิ์ เป็นผู้ยกร่างที่เอแบคและเป็นประธานกรรมการอนุมัติที่ทบวง
  3. ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มจัดให้เอแบคเป็น สมาชิกก่อตั้ง (Founding Member) ของสมาคมอินเทอร์เน็ตนานาชาติ โดยในเอเชียแปซิฟิก ไม่มีหน่วยงานอื่นใดได้เป็นสมาชิกก่อตั้งของสมาคมอินเทอร์เน็ต นานาชาติ
  4. ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมอินเทอร์เน็ตนานาชาติสาขาประเทศไทย สมาคมคอมพิวเตอร์ นานาชาติ เอซีเอ็มสาขาประเทศไทย และสมาคมคอมพิวเตอร์ในสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาประเทศไทย โดยทั้ง 3 สมาคมตั้งอยู่ที่เอแบค
  5. การใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรกที่เอแบค เป็นการใช้โดย ศ.ศรีศักดิ์ เมื่ออินเทอร์เน็ตได้เข้ามาสู่เมืองไทย เป็นครั้งแรกที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งตอนนั้น ศ.ศรีศักดิ์ เป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่า จึงได้สิทธิ์ใช้อินเทอร์เน็ตที่นั่นด้วย โดยติดตั้งคอมพิวเตอร์ที่เอแบค และใช้โทรศัพท์เชื่อมต่อไปยังเอไอที
  6. การบังคับให้นักศึกษาทุกคนใช้อินเทอร์เน็ตที่เอแบค ศ.ศรีศักดิ์เป็นผู้เสนอโครงการทำให้เอแบค เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลกที่บังคับให้นักศึกษาทุกคนใช้อินเทอร์เน็ต โดยมหาวิทยาลัยอื่นๆ มีอินเทอร์เน็ตให้ใช้ แต่ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนบังคับให้นักศึกษาทุกคนต้องใช้อินเทอร์เน็ต
  7. จุดเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตนานาชาติ (International Internet Gateway) แห่งแรกของภาคเอกชนในประเทศไทย อยู่ที่เอแบคโดย ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้เริ่มโครงการ
  8. ปริญญาโทไอทีหลักสูตรแรกของเอแบค คือ ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ (CIS = Computer Information Systems) ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ยกร่างที่เอแบคและเป็นประธานคณะกรรมการอนุมัติที่ทบวง ถึง พ.ศ. 2547 มีนักศึกษาถึง 31 รุ่นแล้ว ต่อมา ศ.ศรีศักดิ์ ก็ริเริ่มตั้งหลักสูตรปริญญาโทไอที ที่เอแบค อีก 3 หลักสูตร คือ การจัดการงานคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม (CEM = Computer and Engineering Management) อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (IEC = Internet and E-Commerce) และ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (SWE = Software Engineering) ในการรับปริญญาเมื่อต้นปี พ.ศ.2547 มีผู้จบปริญญาโทสาขาดังกล่าว รวม 353 คน
  9. หลักสูตรปริญญาเอกแห่งแรกในบรรดามหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเผอิญเป็นหลักสูตรปริญญาเอก ด้านคอมพิวเตอร์แห่งแรกในประเทศไทยด้วย โดยใช้ชื่อว่า “Ph.D. (CIS)” และ “Ph.D. (CEM)” นั้น ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ยกร่างที่เอแบค และเป็นประธานอนุมัติที่ทบวง มีผู้จบปริญญาเอกจากเอแบคทุกปี
  10. เอแบคโพลล์ หรือ สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซี อินเตอร์เนตโพลล์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นอันดับหนึ่ง เท่าเทียมกับสวนดุสิตโพลล์นั้น ศ. ศรีศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มและเป็นประธานตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน
  11. รายการวิทยุ “อินเตอร์เนต ไอที ทอล์ค” ที่สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM. 97 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 น.-14.00 น. ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้ประกาศ ทำให้ได้โฆษณา ประชาสัมพันธ์เอแบคเป็นระยะๆ ต่อมาก็ได้จัดรายการวิทยุ “อินเทอร์เน็ต ไอที กับ ศรีศักดิ์ จามรมาน” ที่ AM. 891 ทุกวันอาทิตย์เวลา 09.15 น.-10.00 น. และรายการโทรทัศน์ “อินเทอร์เน็ต ไอที กับ ศรีศักดิ์ จามรมาน” ที่ UBC13 และ UBC73 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 12.00 น. –13.00 น. โดยเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ DLF e-Learning เฉลิมพระเกียรติ
  12. ศ.ศรีศักดิ์ ได้ช่วยจัดตั้งคณะต่างๆ ที่เอแบค อาทิ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นต้น
  13. ศ.ศรีศักดิ์ ได้เขียนบทความและหนังสือลงตีพิมพ์ที่ต่างๆ รวมกว่า 900 เรื่อง เป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ เอแบคไปในตัว
  14. ศ.ศรีศักดิ์ ได้จัดการสัมมนานานาชาติที่เอแบค อาทิ เรื่อง “Transborder Data Flows” สนับสนุนโดย UNTCT (United Nations Center on Transitional Corporations) และเรื่อง “Internet Technology and Application” ซึ่งสนับสนุนโดยสมาคมคอมพิวเตอร์นานาชาติ
  15. ศ.ศรีศักดิ์ ได้เริ่มทำงานให้เอแบคในฐานะรองอธิการบดีกิตติมศักดิ์ด้านวางแผนและพัฒนาโดยในสมัยที่ ศ.ดร. ชุบ กาญจนประกร เป็นอธิการบดีและทำหน้าที่ต่อมาในสมัย บราเดอร์ มาร์ติน เป็นอธิการบดี จนถึงปัจจุบันที่ บราเดอร์ บัญชา เป็นอธิการบดี รวมเวลาที่ ศ.ศรีศักดิ์ ทำงานให้เอแบคถึงปัจจุบันกว่า 25 ปี
  16. ศ.ศรีศักดิ์ เป็นศาสตราจารย์คนแรกที่ได้รับแต่งตั้งที่เอแบค โดยอาศัยความที่เคยเป็นศาสตราจารย์ระดับ 11 ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังอยู่ 11 ปี
  17. ศ.ศรีศักดิ์ ได้รับมอบหมายจาก บราเดอร์ มาร์ติน ให้เป็นผู้ร่างและอ่านคำกราบบังคมทูลถวายราชสดุดีแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในคราวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาเอก ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  18. ศ.ศรีศักดิ์ เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเทอร์เน็ต เพื่อเปิดสอนระดับปริญญา และประกาศนียบัตร แก่ผู้สนใจให้ได้ปีละ 100,000 คนและสอนอินเทอร์เน็ตให้คนตาบอด คนหูหนวก เด็กพิเศษ และผู้เกษียณอายุ โดย ศ.ศรีศักดิ์ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการ และประธานผู้บริหาร (CEO = Chief Executive Officer)
สรุปแล้ว โดยการสนับสนุนของ บราเดอร์ มาร์ติน และ บราเดอร์ บัญชา ศ.ศรีศักดิ์ได้ช่วยพัฒนาเอแบค จากการเป็นผู้นำด้านบริหารธุรกิจมาเป็นผู้นำทั้งด้านบริหารธุรกิจและด้านไอที โดยในปัจจุบันเอแบค มีหลักสูตรด้านไอทีถึง 26 หลักสูตร มากกว่ามหาวิทยาลัยอื่นใดในโลก
ผมโชคดี มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ของท่าน
สมัยเรียน การจัดการงานคอมพิวเตอร์และวิศวกรรม (CEM = Computer and Engineering Management) #7
ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปี 2538 - 2539
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ = 393 มิลลิวินาที ความสูง = 3181 จุด ความกว้าง = 1264 จุด
Thaiall.com