thaiall logomy background อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร
my town
internet

อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร

อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดย อินเทอร์เน็ต มาจากคำว่า อินเทอร์ และเน็ต ซึ่ง อินเทอร์ คือ ระหว่าง หรือ ท่ามกลาง ส่วน เน็ต คือ เครือข่าย ให้ประโยชน์อย่างน้อย 4 ด้าน คือ การติดต่อสื่อสาร การศึกษา การค้า และ ความบันเทิง
Computer | สมรรถนะดิจิทัล | TEC | MIS | Ethics |
อินเทอร์เน็ต(Internet) คืออะไร สารบัญ
1. ประวัติความเป็นมา
2. ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต (Internet Advantage)
1. การติดต่อสื่อสาร (Communication) ประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสาร คือ การทำให้คนสองคน หรือหลายคนสื่อสารกันได้โดยง่าย ใช้สื่อที่มีทั้งภาพ เสียง วิดีโอ การไลฟ์สดและแบ่งปันคลิปวิดีโอ การถ่ายทอดเสียง ทำอัลบั้มภาพ แบ่งปันสาระผ่านบล็อก ข้อมูลสารสนเทศผ่านเว็บไซต์องค์กร โพสต์ชีวิตในเฟสบุ๊ค ไอจี ยูทูป หรือติ๊กตอก จนพัฒนาไปถึงการสอนออนไลน์ ประชุมออนไลน์จนกลายเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน
2. การศึกษา (Education) ประโยชน์ด้านการศึกษา คือ ทำให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา นักวิจัย ผู้เรียน ผู้สอน และประชาชนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงสื่อ สืบค้นข้อมูล สร้างสื่อออนไลน์มีรูปแบบที่หลากหลายและแบ่งปัน ครูและนักเรียนสื่อสารกัน รับส่งเอกสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดประชุมวิชาการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เข้าถึงฐานข้อมูลด้านการศึกษาได้ทั่วโลก
3. การค้า (Commerce) ประโยชน์ด้านการค้า คือ ผู้ซื้อ และผู้ขายพบกันได้ง่ายขึ้น ต้องการอาหารก็กดสั่ง food panda หรือ grab food ต้องการซื้อขายข้าวแกง ไม้จิ้มฟันยันเรือรบก็ใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันที่ใครก็ทำได้ โพสต์ขายในสื่อสังคมในกลุ่มหรือขายให้เพื่อนก็สะดวก มีระบบชำระเงิน ระบบขนส่งสินค้าเชื่อมโยงกับ lazada หรือ shopee ทำให้มีลูกค้าสั่งซื้อได้จากทั่วโลก รองรับทั้ง C2C จนถึง G2C
4. ความบันเทิง (Entertainment) ประโยชน์ด้านความบันเทิง คือ การสนองความต้องการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เพลง ภาพยนตร์ ภาพถ่าย เกม ข้อมูล โปรแกรม รองรับการมีปฏิสัมพันธ์ สร้างตัวตนในโลกเสมือนจริง พร้อมการพัฒนาอุปกรณ์ที่รองรับความเสมือนจริงเหล่านั้น ทั้ง VR AR และ MR
3. เอกสารจาก Nectec
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter และ net
1. อินเทอร์ (Inter) คือ ระหว่าง หรือท่ามกลาง
2. เน็ต (Net) คือ เครือข่าย (Network)
อินเทอร์เน็ต (Internet)
คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย
ข้อมูลจากหนังสือดี
+ Internet starter kit (Adam C.Engst | Corwin S. Low | Michael A. Simon)
+ เปิดโลกอินนเทอร์เน็ต (สมนึก คีรีโต | สุรศักดิ์ สงวนพงษ์ | สมชาย นำประเสริฐชัย)
+ User's Basic Guide to the Internet (สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
+ The ABCs of The Internet (Srisakdi Charmonman,Ph.D. ...)
ใช้ข้อมูลจากเว็บหน้านี้ไปอบรมเรื่อง Internet คืออะไร ที่โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง
(หากมีสิ่งใดผิดพลาด หรือไม่ถูกต้อง ขอได้ชี้แนะมายังทีมงาน เราจะรีบตรวจสอบ และปรับปรุงทันที - Messenger)

ผังแสดงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet)
ประวัติความเป็นมา อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น
ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา
ข้อมูลจาก http://www.computerhistory.org/exhibits/internet_history/
และ http://www.sri.com/about/timeline/arpanet.html
อาป้าเน็ต (Arpanet) : The Internet as you know it today, and through which you are accessing this information, had its beginnings in the late 1960s as the "ARPANET". Started by the U.S. Department of Defense Advanced Research Projects Agency (now DARPA ดาป้า), the entire network consisted of just four computers linked together from different sites to conduct research in wide-area networking. SRI, then known as the Stanford Research Institute, hosted one of the original four network nodes, along with the University of California, Los Angeles (UCLA), the University of California, Santa Barbara (UCSB), and the University of Utah. The very first transmission on the ARPANET, on 29th October 1969, was from UCLA to SRI.

What is IPv6?
from RFC2460 = Request for Comments:2460 .
IP version 6 (IPv6) is a new version of the Internet Protocol, designed as the successor to IP version 4 (IPv4) [RFC-791]. The changes from IPv4 to IPv6 fall primarily into the following categories:
o Expanded Addressing Capabilities
o Header Format Simplification
o Improved Support for Extensions and Options
o Flow Labeling Capability
o Authentication and Privacy Capabilities
IP4 to IP6 Webguides
- ipv6.net | ipv6.org
- byxtreme.com *
- buu.ac.th
- kmitnb.ac.th
- sun.com
- wikipedia.org
- tcpipguide.com
- nectec.or.th
- itcompanion.co.th
- nectec.or.th
- vanbest.org (IETF:1990)

Webserver ค.ศ.1989 Tim Berners-Lee เริ่มโครงการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแบบข้อความที่มีปฏิสัมพันธ์กัน (Hypertext) แก่บริษัท CERN ทำงานบน NeXTSTEP OS ระหว่าง ค.ศ. 1991 – 1994 พอปี ค.ศ.1994 ก็ตั้ง W3C เพื่อพัฒนามาตรฐานอื่น ๆ อาทิ HTTP , HTML
โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น
- Web Browser
- Web Server
Mosaic เป็น Web Browser ที่ทำให้ผู้คนได้รู้จักอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายในราวปีค.ศ.1993 ด้วยความสามารถที่ทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลในแบบภาพกราฟฟิกและสื่อผสมได้ง่าย สำหรับ world wide web พัฒนาโดย Marc L. Andreessen และ Eric J. Bina ขึ้นที่ The national center for supercomputing application (NCSA)
+ รายชื่อเว็บบราวเซอร์ (Web browser lising)
เวิลด์ไวด์เว็บเข้าเบญจเพส (itinlife441)
เวิลด์ไวด์เว็บ (www = world wide web) คือพื้นที่เก็บข้อมูลข่าวสารและเผยแพร่ที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต มักเรียกอย่างสั้นว่าเว็บ มีกำเนิดปีพ.ศ. 2532 โดย Tim Berners-Lee และใช้เครื่อง NeXT เป็นเครื่องบริการเว็บ (Web server) เครื่องแรกของโลก ผ่านโปรโตคอล HTTP เมื่อนับอายุถึงปัจจุบันก็ได้ 25 ปี ซึ่งคนไทยเชื่อว่าย่างเข้าเบญจเพส กำลังเป็นหนุ่มเป็นสาวเต็มที่ แต่ความนิยมของ www ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าเกิดขึ้นมาแล้วนับร้อยปี เพราะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนไปตลอดเวลา ที่มีทั้งด้านบวกและลบควบคู่กันไป
แม้จะรับรู้กันว่ามนุษย์เข้าถึงอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย จากข้อมูลกลางปี 2555 พบว่ามีเพียงร้อยละ 34.3 ที่ได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้ 2.4 พันล้านคนจากประชากร 7 พันล้านคน ซึ่งหลายคนเชื่อว่าอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตจะไม่ลดลง การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่ได้มีเฉพาะมนุษย์เท่านั้น แต่พบว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์โดยตรงมีสูงกว่าร้อยละ 60 ของผู้ใช้ที่เป็นมนุษย์ หรือ 1.45 พันล้านบอท (bots) จากรายงานในบล็อกของ incapsula.com ซึ่งมีพฤติกรรมที่คุ้นเคย เช่น ขูดเอาอีเมล (Scraper) ส่งสแปม (Spam) แฮกระบบ (Hacking tools) ปลอมตัวเป็นคน (Impersonators) แม้จะมีความพยายามป้องกันในทุกวิถีทาง แต่ก็มีผู้ไม่ประสงค์ดีพยายามหลบหลีกการป้องกันเหล่านั้นมาให้ได้เห็นอยู่เสมอ
การใช้งานอินเทอร์เน็ตแบ่งกลุ่มการใช้งานได้ 4 กลุ่มคือ การสื่อสาร การค้า การศึกษา และความบันเทิง ปัจจุบันพบว่าสถิติการใช้เพื่อการสื่อสารสูงเป็นอันดับหนึ่ง พบรายงานการใช้ line และ facebook ของคนไทยสูงขึ้นเป็นปรากฎการณ์ ส่วนความบันเทิงก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ากัน พบว่า The Intelligence Group รายงานผลสำรวจว่าปลายปี 2556 มีวัยรุ่น 14 -- 18 ปีจำนวน 3 ใน 4 ที่สหรัฐอเมริกาใช้ youtube สม่ำเสมอกว่า facebook แต่ถ้าอายุ 24 ปีขึ้นไปยังใช้ facebook สูงกว่า ส่วนอันดับสามคือ iTunes ให้บริการฟังเพลงบนอุปกรณ์ของ Apple เช่น iPhone หรือ iPod หรือ iPad อันดับสี่คือ instagram ซึ่งสถิตินี้ตอกย้ำว่าการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิงยังครองตลาดผู้บริโภคในปัจจุบันอย่างเด่นชัด ในกลุ่มวัยรุ่นไทยก็อาจมีสถิติที่ใกล้เคียงกัน อินเทอร์เน็ตจะยังได้รับความนิยมตราบเท่าที่มนุษย์ชื่นชอบการสื่อสาร และความบันเทิง
+ http://www.emarketer.com/Article/
+ http://thumbsup.in.th/2014/02/teen-youtube-over-facebook/
+ http://www.incapsula.com/blog/bot-traffic-report-2013.html
+ http://www.thecultureist.com/2013/05/09/
+ http://motherboard.vice.com/blog/
+ http://edition.cnn.com/2014/03/12/tech/
บริการที่อินเทอร์เน็ตมีให้
1. Telnet หรือ SSH เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้ติดต่อเครื่องบริการ (Server) เพื่อเข้าควบคุมการทำงานของเครื่อง ปิดเปิดบริการ รับส่งเมล ใช้พัฒนาโปรแกรม เป็นต้น โปรแกรมนี้มีมาพร้อมกับการติดตั้ง TCP/IP ผู้ใช้สามารถเรียกใช้จาก c:\windows\telnet.exe แต่การใช้งานเป็นแบบ Text Mode ที่ผู้ใช้ต้องเรียนรู้คำสั่งให้เข้าใจก่อนใช้งาน ในอดีตผู้ใช้มักใช้โปรแกรม Pine ในเครื่องบริการสำหรับรับส่งอีเมล ก่อนการใช้ POP3 และ Web-Based จะแพร่หลาย โปรแกรม PINE ถูกพัฒนาโดยนักศึกษามหาวิทยาลัย WASHINGTON University
+ telnet.org
+ wikipedia.org
2. อีเมล (e-mail หรือ Electronic Mail) อีเมล คือ บริการกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้สามารถรับ และส่งอีเมลในอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสาร ปัจจุบันบริการอีเมลผ่าน Web-Based Mail ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีหลายบริษัทเปิดให้บริการฟรีอีเมล เช่น hotmail.com, yahoo.com, thaimail.com, chaiyo.com, lampang.net, thaiall.com
บริการอีเมลที่ได้รับความนิยมมี 2 ประเภทคือ Web-Based Mail และ POP3 บริการแบบ POP3 นั้นผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลจากเครื่องบริการเมลไปเก็บไว้ในเครื่องของตน จึงเปิดอ่านอีเมลเก่าได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เหมาะกับผู้ใช้ในสำนักงานที่มีเครื่องเป็นของตนเอง โปรแกรมที่ใช้เปิดอีเมลแบบ POP3 เช่น Outlook Express, Eudora หรือ Netscape Mail เป็นต้น
+ www.thaiall.com/article/mail.htm
3. USENET News หรือ News Group ในยุคแรกของอินเทอร์เน็ต มีผู้ใช้บริการ USENET อย่างแพร่หลาย เพราะเป็นแหล่งข้อมูลให้สืบค้นขนาดใหญ่ สามารถส่งคำถาม เข้าไปตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดสังคมของการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ปัจจุบันมีการใช้งาน USENET น้อยลง เพราะผู้ใช้หันไปใช้เว็บบอร์ดซึ่งเข้าถึงได้ง่าย และเป็นที่แพร่หลายกว่า ปัจจุบันเชื่อว่าเยาวชนรู้จัก http://www.pantip.com มากกว่า news://soc.culture.thai
4. FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล) บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows
การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว
+ ipswitch.com (WS_FTP Client)
+ filezilla.sourceforge.net แนะนำโดย thaiopensource.org
+ www.thaiall.com/learn/useftp.htm
5. WWW (World Wide Web) บริการที่ต้องใช้โปรแกรม Web Browser เช่น FireFox, Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เพื่อเปิดดูข้อมูลจากเว็บไซต์ (Website) หรือโฮมเพจ (Homepage) จะได้ข้อมูลในลักษณะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม รวมทั้งการสั่งประมวลผล และตอบสนองแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive)
บริการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น ชมภาพยนต์ ฟังเพลงออนไลน์ เล่นเกมส์ ค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ทำข้อสอบ การส่งเมล ติดต่อซื้อขาย ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือส่งโพสท์การ์ด เป็นต้น
+ class.yonok.ac.th (เก่าแล้ว)
+ thaiall.com
+ uploadtoday.com
hollywood.com
6. Skype, Net2Phone, Cattelecom.com \บริการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ที่บ้าน (PC2Phone) และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ถูกกว่า และผู้ให้บริการบางรายยังมีบริการ PC2Fax สำหรับส่ง Fax จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเครื่องรับ Fax ที่สำนักงาน โดยชำระค่าบริการแบบ Pre-Paid และใช้บริการจนกว่าเงินที่จ่ายไว้จะหมด
แต่ถ้าโทรจากคอมพิวเตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ฟรี เพราะมีโปรแกรมหลายตัวที่มีความสามารถนี้ และฟรีเช่นกัน บาง
+ net2phone.com
+ skype.com
+ cattelecom.com
7. Netmeeting ในอดีต .. เป็นโปรแกรมที่มีชื่อมาก เพราะทำให้คนจากซีกโลกหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกซีกโลก ด้วยภาพ และเสียงจากคอมพิวเตอร์ ถึงคอมพิวเตอร์ คล้ายโทรศัพท์ แต่ไม่มีค่าโทรศัพท์ทางไกลไปต่างประเทศ เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้น
ผู้ใช้ต้อง download โปรแกรมมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญในการติดต่อสื่อสารแบบนี้ คือ ต้องการสื่อที่รองรับการสื่อสารด้วยความเร็วสูง เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรือขาดหายระหว่างการสนทนา หากความเร็วในการเชื่อมต่อไม่เร็วพอ และเป็นไปไม่ได้ ถ้าใช้การเชื่อมต่อเว็บแคม (WebCam) แบบเห็นภาพร่วมด้วย ถ้ายังใช้ Modem 56 Kbps อยู่ แต่ถ้าใช้ ADSL ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องความเร็วอีกต่อไป
To Open Netmeeting in WinXP : Start, Run, conf.exe
+ microsoft.com
+ videofrog.com
8. ICQ (I Seek You) ในอดีต .. บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยมจนไม่คิดว่าจะมีใครมาล้มได้ ผู้ใดที่มีโปรแกรม ICQ ไว้ในคอมพิวเตอร์ จะติดต่อกับเพื่อนที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเพื่อนใน List ทันทีว่ามาแล้ว และพร้อมจะสนทนาด้วยหรือไม่ เปรียบเสมือนมี Pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว บริการนี้ ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้งฟรี เบอร์ที่ผมเคยใช้คือ 20449588
ปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ MSN Messenger หรือ Yahoo Messenger
+ icq.com
+ msn.com (Webcam, Speaker, Microphone)
+ yahoo.com
9. IRC (Internet Relay Chat) ในอดีต .. บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถสนทนากับใครก็ได้ที่ใช้โปรแกรม PIRC การสนทนากระทำผ่านแป้นพิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องเห็นหน้า หรือรับผิดชอบต่อสิ่งที่พิมพ์ออกไป หญิงอาจบอกว่าตนเป็นชาย นักเรียนมัธยมอาจบอกว่าตนเป็นนางงาม เด็กตจว. อาจบอกว่ากำลังเรียนต่อแอลเอ เป็นต้น
ใน IRC มักแบ่งเป็นห้อง โดยมีชื่อห้องเป็นตัวระบุหัวข้อสนทนา หรือสื่อให้รู้กันในกลุ่ม เช่น "ห้องวิธีแก้เหงา" หากใครต้องการสนทนาถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือเข้าหลายห้องพร้อมกัน สามารถเลือกสนทนากับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะสนทนาพร้อมกันทั้งกลุ่ม เมื่อสนทนากันถูกคอก็สามารถ ที่นัด Meeting ตามร้านอาหาร เพื่อนสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือนัดสนทนากันใหม่ในเวลาที่สะดวกสำหรับวันต่อไป จึงทำให้ทุกเพศทุกวัย ชื่นชอบที่จะใช้บริการนี้อย่างมาก โดยเฉพาะคนที่ยังไม่มีคู่ชีวิต
ปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ Messenger หรือ Web Chat
+ mirc.com
+ thaiirc.in.th
10. Game Online เกมส์กลยุทธหลายเกมส์ เป็นการจำลองสถานการณ์การรบ หรือการแข่งขัน ทำให้ผู้ใช้สามารถต่อสู้กับตัวละครในคอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์สามารถคิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่อง เพราะไม่เหมือนการสู้กับคนที่คิดเป็น และพูดคุยโต้ตอบได้ จึงมีการสร้างเกมส์ และบริการ ที่ทำให้ผู้ใช้ต่อสู้กัน หรือร่วมกันสู้ โดยจ่ายค่าลงทะเบียน เพื่อขอรหัสผู้ใช้เข้าเครื่องบริการ เพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือทำภารกิจกับเพื่อนร่วมรบ ที่มีจุดมุ่งหมาย หรือชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน เป็นบริการเพื่อความบันเทิงที่กำลังเติมโต อย่างรวดเร็วในโลกอินเทอร์เน็ต
และในอนาคต ผู้ที่เคยติดเกมจะได้เรียนรู้ว่า เขาน่าจะทำกิจกรรมอื่นมากกว่าติดเกม
+ asiasoft.co.th
+ siamcomic.com
+ barbie.com
+ ferryhalim.com
+ thaiall.com/games
11. Software Updating มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม หรือระบบปฏิบัติการอย่าง Microsoft ก็ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้ามา Download ข้อมูลไปปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อใช้ต่อสู้ไวรัสตัวใหม่ หรือแก้ไขจุดบกพร่องที่พบในภายหลัง ผู้ใช้เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update โปรแกรมจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ของตน และทำงานเองจนการ update สมบูรณ์
+ clamwin.com แนะนำโดย thaiopensource.org
+ antivir.com
+ bitdefender.com
12. Palm หรือ PocketPC Palm หรือ PocketPC นั้นต่างก็เป็น Organizer ยุคใหม่มีอีกชื่อหนึ่งว่า PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งถูกตั้งชื่อโดย Apple ตั้งแต่ปี 1990 แต่สมัยนั้นยังไม่สำเร็จ จึงมีการพัฒนาเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถสูงมาก เพราะสามารถพัฒนาโปรแกรม สั่งให้ palm ทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ทำให้ความสามารถหลักด้าน organizer กลายเป็นส่วนประกอบไปเลย เพราะมีผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับ palm มากทีเดียว คนไทยก็ทำครับ เพื่อให้ palm เข้าใจภาษาไทย และใช้ปากกาเขียนภาษาไทยให้ palm อ่านรู้เรื่องได้ทันที
Palm สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยผู้ใช้ palm สามารถเขียน mail ใน palm เมื่อต้องการส่งก็ upload เข้าคอมพิวเตอร์ที่ online กับ internet แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ส่ง mail ให้อัตโนมัติ รวมถึงการรับ mail ใหม่เข้าไปใน palm ทำให้สามารถอ่าน mail จากที่ไหนก็ได้ แต่เป็นการทำงานแบบ offline ไม่เหมือนมือถือที่อ่าน mail ได้แบบ online แต่ palm ไม่ใช่มือถือครับ (palm.com)


PocketPC คืออะไร
ผลจากปี 1998 เมื่อ Microsoft แนะนำ WindowCE ซึ่งทำงานกับ Palm-sized PC ซึ่งพยายามตี palm ให้แตก ด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการ ที่เป็นมาตรฐานใหม่ บริษัทต่าง ๆ ที่สนใจจึงเริ่มผลิตสินค้า ที่ใช้ Windows CE โดยมีชื่อเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า PocketPC คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่กำหนดมาตรฐานโดย Microsoft เจ้าเก่า(งานนี้ palm อาจต้องหนาว) ทำให้ PocketPC ที่ผลิดโดยบริษัทใดก็แล้วแต่ เช่น Compaq, Casio, HP เป็นต้น สามารถเปิดเว็บ พิมพ์ Word หรือ Excel ฟัง MP3 หรือแม้แต่ดูหนัง ก็ยังได้
13. WAP (Wireless Application Protocal)
WAP เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บเพจที่พัฒนาเพื่อโทรศัพท์มือถือตามมาตรฐาน WAP โดยเฉพาะ เช่น wopwap.com, wap.siam2you.com, wap.a-roi.com, wap.mweb.co.th รุ่นของโทรศัพท์ในยุคแรกที่ให้บริการ WAP เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น เว็บที่มีข้อมูลเรื่อง wap เช่น wapinsight.com, wap-uk.com, waphq.com, wapjag.com, yourwap.com, waptastic.com เป็นต้น
ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเข้า Wap Website แต่เข้าเว็บไซต์โดยตรงผ่านบริการ GPRS (General Packet Radio Service) ใน GSM Mobile Phone [wikipedia.org]
ประทับใจไปเป็นวิทยากร เล่าความประทับใจ ครั้งไปเป็นวิทยากร ที่โรงเรียนบุญวาทย์ เมื่อ 26 สิงหาคม 2543 เวลา 13.00น. - 16.00 น. [ รูปถ่ายอาจารย์ทั้ง 4 ]
ใช้ข้อมูลจากเว็บหน้านี้ ไปอบรมเรื่อง internet เบื้องต้น สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดลำปาง โดยโรงเรียนบุญวาทย์เป็นผู้จัด และเชิญผมไปเป็นวิทยากร 1 หัวข้อ 3 ชั่วโมง จากทั้งหมด 12 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2543 ได้พบอาจารย์โรงเรียนบุญวาทย์ 4 ท่าน จึงได้ถ่ายภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก ด้วยกล้อง digital ของโรงเรียน แล้วนำไปแต่งด้วยโปรแกรม Iview 3.17 อาจารย์ท่านอำนวยความสะดวก และประสานงานดีมาก ผมเองก็ประทับใจห้องปฏิบัติการหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องความเร็ว เพราะใช้ internet ได้เร็วมาก ทั้งที่ห้องปฏิบัติการมีจำนวนเครื่องถึง 50 เครื่อง โดยอาจารย์อำนวย ไชยนาม เล่าให้ฟังว่าใช้ Webramp (Hardware ตัวละประมาณ 27,000 บาท) จัดการเรื่องการหมุนโทรศัพท์เข้า isp และใช้ linux ทำหน้าที่เป็น proxy และยังใช้สายโทรศัพท์ถึง 3 เส้น พร้อมกัน เสียค่าใช้จ่ายให้ isp เดือนละหมื่นกว่าบาทเท่านั้นเอง การจัดเครือข่ายในห้องปฏิบัติการทำได้ยอดเยี่ยมมาก ท่านใดสนใจไปดูงานติดต่อ อ.อำนวย ไชยนาม ที่ aumnuay@hotmail.com
อีเมลฉบับแรกของไทย ย้อนรอย "อีเมลฉบับแรกของไทย" เกิดขึ้นที่คณะวิทย์ ม.อ.หาดใหญ่
http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000075803
     ย้อนรอย "อีเมลฉบับแรกของไทย" เกิดขึ้นที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่ เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ส่งผู้เชี่ยวชาญมาติดตั้งระบบ และสร้าง URL ชื่อ Sritrang.psu.th ขึ้น เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ม.อ. และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วโลก
     สืบเนื่องจากในปี 2556 นี้ เป็นปีที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) มีอายุครบ 45 ปี วันนี้ (22 มิ.ย.) ทางคณะฯ จึงจัดงานฉลองครบรอบ 45 ปีขึ้น โดยเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมามีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "4.5 ทศวรรษ Computer และ IT ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์" โดย ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และอดีตผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ทำให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รับที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (URL) Sritrang.psu.th เป็นแห่งแรกของประเทศไทย พร้อมทั้งเป็นหนึ่งในคณะที่ก่อให้เกิดอีเมลฉบับแรกขึ้นในประเทศไทยด้วย
     ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน เปิดเผยว่า การส่งอีเมลฉบับแรกนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2531 หรือ 25 ปีที่แล้ว โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเล็งความความสำคัญของการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่อยู่ในภูมิภาค ทั้งนี้ เมื่อสมัย 25 ปีที่แล้วนั้น การติดต่อสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งภายในประเทศไทย และระหว่างมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วโลก ค่อนข้างเป็นไปด้วยความยากลำบาก
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
สำหรับอีเมลฉบับแรกนั้น มีข้อความดังนี้
Return-path: kre@sritrang.psu.th
Received: from mulga.OZ by munnari.oz (5.5)
id AA06244; Thu, 2 Jun 88 21:22:14 EST
(from kre@sritrang.psu.th for kre)
Received: by mulga.oz (5.51)
id AA01438; Thu, 2 Jun 88 21:21:50 EST
Apparently-to: kre
Date: Thu, 2 Jun 88 21:21:50 EST
From: kre@sritrang.psu.th
Message-id: <8806021121.1438@mulga.OZ>
            
Hi.
            
Bye
     และจากแนวคิดที่ว่า ม.อ. เป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาคที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ มาก จึงต้องการพัฒนาระบบสื่อสารเพื่อดึงดูดให้บุคลากรทางการศึกษาอยู่ในพื้นที่อย่างมีความสุข รวมทั้งป้องกันภาวะสมองไหลด้วย รัฐบาลออสเตรเลียจึงส่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมเมอร์มือฉมัง คือ อาจารย์โรเบิร์ต เอลซ์ และ ศ.จูริส ไรน์เฟลด์ มาช่วยพัฒนางาน และจัดตั้งระบบ UUCP (Unix to Unix Communication Protocol) ขึ้น เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารจาก ม.อ. ไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วโลกที่มีระบบคล้ายๆ กันได้ ทำให้เกิดการส่งอีเมลฉบับแรกจากประเทศไทยออกไป โดยใช้ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (URL) ว่า Sritrang.psu.th ซึ่งหมายถึงดอกศรีตรัง ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นั่นเอง
     "อีเมลฉบับแรกของประเทศไทยถูกส่งเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2531 โดยอาจารย์โรเบิร์ต เอลซ์ เป็นผู้ส่งอีเมลฉบับนี้ไปยังมหาวิทยาลับเมลเบิร์น โดยเนื้อความในอีเมลมีเพียงคำทักทายว่า Hi และลงท้ายว่า Bye ไม่ได้มีสาระสำคัญอะไร เพื่อเป็นการทดสอบระบบเท่านั้น ซึ่งเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ในวงการอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยโดยไม่ได้ตั้งใจ" ผศ.วุฒิพงศ์ กล่าว

     หลังจากส่งอีเมลฉบับแรกสำเร็จ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก็พัฒนาระบบ และนำมาประยุกต์กับการใช้งานต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดมา
     ย้อนไปในช่วงแรกๆ (พ.ศ.2510-2519) ซึ่งถือเป็นยุคเตรียมการ มีการส่งคณาจารย์ไปศึกษาต่อด้านคอมพิวเตอร์ที่ต่างประเทศ และเริ่มเปิดสอนวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ แต่สอนโดยที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ โดยเมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จ จะต้องส่งบัตรที่เจาะรูแล้วข้ามไปทดสอบระบบที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย บางส่วนก็ส่งไปตรวจที่สำนักงานสถิติแห่งชาต กรุงเทพฯ จากนั้นก็เตรียมการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ขึ้น และเขียนโครงการของคอมพิวเตอร์ไปยังคณะกรรมการคอมพิวเตอร์ของรัฐ
     ต่อมา ในช่วงที่ 2 (พ.ศ.2520-2529) เป็นยุคทองของระบบคอมพิวเตอร์ ใน ม.อ. เลยก็ว่าได้ เนื่องจากบุคลากรที่ไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศเริ่มทยอยกลับมาสอน และมีการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ขึ้นในคณะวิทยาศาสตร์ ขณะเดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ CDC Cyber 18-20 ก็เดินทางมาถึง ม.อ.วิทยาเขตหาดใหญ่ ในปี พ.ศ.2522 เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เครื่องแรกของ ม.อ. และเครื่องแรกใน 14 จังหวัดภาคใต้ จากนั้นจึงมีการเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์แบบเต็มรูปแบบ และในปี พ.ศ.2522 นั่นเองที่มีการยกฐานะศูนย์คอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ เป็นโครงการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.อ. เพื่อให้นักศึกษาคณะอื่นๆ ได้ใช้งานด้วย
     จากนั้นก็มีการพัฒนา และทดลองระบบเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ เช่น การตรวจข้อสอบ การประเมินผล การลงทะเบียนเรียน การประกาศผลสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และใช้สำหรับเวชระเบียนในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นต้น จนอาจกล่าวได้ว่า หลังจากอีเมลฉบับแรกเกิดขึ้นในประเทศไทย ก็มีส่วนผลักดัน และส่งเสริมให้งานด้านอื่นๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายดายขึ้นเช่นกัน
สำหรับเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ ในอดีต มีดังนี้
- พ.ศ.2524 ม.อ.เริ่มเปิดให้มีการลงทะเบียนเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ และนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการรวมคะแนน และจัดลำดับที่ในการสอบคัดเลือกโดยวิธีรับตรง
- คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. เริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานเวชระเบียน
- พ.ศ.2525 พัฒนาระบบ Payroll ของมหาวิทยาลัยโดยคอมพิวเตอร์
- พ.ศ.2526 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (คอมพิวเตอร์)
- ภาควิชาคณิตศาสตร์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลการประเมินการเรียนการสอน
- พ.ศ.2527 ตรวจข้อสอบคัดเลือกโดยใช้เครื่อง OMR และจัดห้องสอบคัดเลือกโดยใช้คอมพิวเตอร์
- 27 เม.ย.2527 ประกาศจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ในพระราชกิจจานุเบกษา
- ได้รับเครื่องแมคอินทอช รุ่น Classic จำนวน 8 เครื่อง และ Lisa จำนวน 1 เครื่อง จากประเทศออสเตรเลีย (เป็นล็อตแรกในไทย)
- ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในโครงการพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย โดยใช้คอมพิวเตอร์ จัดทำพจนานุกรม 6 เล่ม 6 สาขา
- พ.ศ.2529 ทดลองเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ ระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ ม.อ.หาดใหญ่ กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะของสำนักวิจัย และระบบคอมพิวเตอร์ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมๆ กับเปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- 2 มิ.ย.2531 ส่งอีเมลฉบับแรกจาก ม.อ.หาดใหญ่ ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย จากนั้นก็เริ่มมีการใช้อีเมลใน ม.อ.
- พัฒนาระบบรายงานผลการแข่งขันกีฬาแห่งชาติแบบออนไลน์ ใช้งานที่สมิหราเกมส์ (พ.ศ.2532), นครพิงค์เกมส์ จ.เชียงใหม่ (พ.ศ.2533), กรุงเก่าเกมส์ (พ.ศ.2534) และดอกคูณเกมส์ (พ.ศ.2535)
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 719 มิลลิวินาที สูง: 7426 จุด กว้าง: 1264 จุด
Thaiall.com
Thailand Web Stat